ประวัติกีฬากาบัดดี้

สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

กาบัดดี้ถูกรวมเข้ากับกีฬาระดับชาติในปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) โดยแคว้นมหาราษฏณ์ (Maharashtra) เป็นรัฐบุกเบิกที่นำกาบัดดี้มาบัญญัติไว้ในนโยบายระดับชาติและทำให้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศอินเดีย กฎและกติกามาตรฐานได้ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1918 แต่ได้รับการตีพิมพ์ในปี 1923 และทำการจัดการแข่งขันตั้งแต่นั้นมา กาบัดดี้ก็ได้รับการพัฒนาและมีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศขึ้นอย่างมากมายทั่วประเทศอินเดียตลอดทั้งปี

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

กาบัดดี้ได้พัฒนาเป็นกีฬาระดับนานาชาติในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ในการแข่งขัน Berlin Olympics โดยสมาคม Hanuman Vyayam Prasarak Mandal แห่งเมืองอมราวดี แคว้นมหาราษฏร์นำไปแสดงเป็นกีฬาสาธิต ต่อมาในปี 1938 กีฬาชนิดนี้ก็ได้รับการแนะนำในการแข่งขัน Indian Olympic Games ที่เมืองกัลกัตตา ปี ค.ศ. 1950 มีการจัดตั้งสมาพันธ์กาบัดดี้แห่งอินเดีย (All Indian Kabaddi Federation) การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับชาติรวมถึงการกำหนดกฎและกติกาต่างๆ ที่เริ่มต้นขึ้นด้วยความพยายามมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1952 หลังจากที่มีการจัดตั้งสมาพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งอินเดีย (Amateur Kabaddi Federtion of India) แล้วการแข่งขันกาบัดดี้ประเภทชายระดับชาติก็ได้จัดขึ้นที่เมืองมัทราส (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองเจนไน) ขณะที่การแข่งขันประเภทหญิงระดับชาติก็จัดขึ้นที่เมืองกัลกัตตาในปี ค.ศ. 1955

กฎและกติกากาบัดดี้ที่เคยใช้มาก็ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง บางอย่างก็ได้นำไปใช้ในการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับประเทศ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงนิวเดลีในปี ค.ศ. 1954 ได้มีความพยายามที่จะสาธิตกีฬากาบัดดี้ในเทศกาลยุวชนโลกซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมอสโคว์ ในปี ค.ศ. 1957 แต่ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ กีฬากาบัดดี้ได้รับการบรรจุเข้าเป็นหลักสูตรการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยของอินเดียในปี ค.ศ. 1961

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

กาบัดดี้กลายเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อสมาพันธ์กีฬาโรงเรียนแห่งอินเดียได้บรรจุกีฬากาบัดดี้ไว้ใน การแข่งขันกีฬาระดับโรงเรียนในปี ค.ศ. 1962 องค์กรแห่งนี้มีหน้าที่ในการจัดการแข่งขันกีฬาชิงชนะเลิศทั้งในระดับรัฐและระดับประเทศ สำหรับเด็กนักเรียนทั่วประเทศให้ทำการแข่งขันกีฬาทุกปีตามเกณฑ์ที่กำหนด

สมาพันธ์กีฬากาบัดดี้สมัครเล่นแห่งอินเดีย องค์กรใหม่ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1972 องค์กรนี้ รวมตัวกันโดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้กาบัดดี้เป็นที่รู้จักในหมู่ประเทศเพื่อนบ้าน และทำหน้าที่จัดการแข่งขันชนะเลิศระดับชาติ สำหรับนักกีฬาทั้งชายและหญิง หลังจากมีการจัดตั้งองค์กรนี้ขึ้นมาก็ได้มีการรวมผู้เล่นยุวชน (Sub junior) และเยาวชน (Junior) ไว้ในการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับชาติด้วยเช่นกัน

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

กาบัดดี้ได้รับบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนระดับอนุปริญญาทั่วไปว่าด้วยการฝึกสอน โดยสถาบันการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งเป็นสถาบันแรกที่พัฒนาการกีฬาในประเทศด้วยความพยายามมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 หลังจากนั้นก็มีการผลิตครูผู้ฝึกสอนที่มีความรู้ความสามารถออกมาทุกปี ในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เนปาลและบังคลาเทศก็ได้ส่งครูผู้ฝึกสอนไปศึกษาหลักสูตรระดับอนุปริญญาในสาขาการกีฬาหลายแขนงรวมทั้ง กาบัดดี้ด้วย ครูผู้ฝึกสอนที่ผ่านการฝึกอบรมเหล่านี้จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการฝึกสอนนักกีฬาในระดับต่างๆ อย่างเป็นระบบโดยมีวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นฐานรองรับ

ในปี ค.ศ. 1974 ทีมนักกีฬาชายของอินเดียได้เดินทางไปบังคลาเทศเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันทดสอบ จำนวน 5 นัด ตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและในขณะเดียวกัน นักกีฬาจากบังคลาเทศก็ไปเยือนอินเดียในปี ค.ศ. 1979 และทำการแข่งขันจำนวน 5 นัดเช่นเดียวกัน

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

สหพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งเอเชีย (ASIAN AMATEUR KABADDI FEDERATION) ชื่อย่อ A.A.K.F. ได้จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ระหว่างการฉลองครบรอบ 25 ปี ของการแข่งขันกาบัดดี้แห่งชาติที่อินเดีย ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองภิไลย แคว้นมัธยประเทศ โดยมีอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถาน และศรีลังกาเป็นประเทศร่วมก่อตั้ง การแข่งขันกาบัดดี้นัดชิงชนะเลิศระดับเอเชียครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองกัลกัตตาในปี ค.ศ. 1980 การแข่งขันนัดกระชับมิตรกับประเทศไทยจัดขึ้นในปี ค.ศ. 1981 ซึ่งทีมนักกีฬาทั้งชายและหญิงของอินเดียได้มาเยือนในประเทศไทย ญี่ปุ่นและมาเลเซีย เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกาบัดดี้ การแข่งขันกาบัดดี้ชิงถ้วยสหพันธ์ก็เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1981

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

กาบัดดี้ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาฬาธิตในเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 9 ซึ่งมีอินเดียเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 1982 และในปี ค.ศ.1984 การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับนานาชาติ ชิงชนะเลิศแห่งเอชีย ครั้งที่ 1 ก็จัดขึ้นทีเมืองบอมเบย์ของอินเดีย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองมุมไบ) ระหว่างการฉลองครบรอบ 3 ทศวรรษของเมืองกัลกัตตา การแข่งขันกาบัดดี้ชิงชนะเลิศระดับนานาชาติก็จัดขึ้นทีเมืองนี้เอง

สมาพันธ์เอเชียใต้ หรือ SAF Games ซึ่งกำหนดจัดขึ้นทุก 2 ปี สำหรับการแข่งขันกาบัดดี้ระดับนานาชาติครั้งแรก การแข่งขันขิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 2 ซึ่งอินเดียเป็นเจ้าภาพนั้นได้จัดขึ้นทีเมืองชัยปุระ แคว้นราซสถาน ประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันเอเซียนเกม ครั้งที่ 11 ปี ค.ศ. 1990 ที่กรุงปักกิง ประเทศจีน กาบัดดี้ได้รับการบรรจุเข้าไว้ในกลุ่มกีฬาหลักซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์ของกีฬากาบัดดี้ อินเดียได้รับรางวัลซนะเลิศเหรียญทองขึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความภาคภูมิโจและมิอาจลืมเลือนได้สำหรับผู้รู้กีฬากาบัดดี้ที่ต้องการให้นักกีฬาประเภทนี้เข้าสู่เวทีเอเชีย อินเดียยังได้ครองตำแหน่งผู้ชนะเลิศ ในการแข่งขันเอเขียนเกมส์ซึ่งจัดขึ้นในปี ค.ศ.1994 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญีปุ่นและในปี ค.ศ. 1998 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

การแข่งขันซิงชนะเลิศกาบัดดี้ทีมหญิงระดับนานาชาติ เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1995 เรียกการแข่งขันครั้งนี้ว่า Nike Gold Cup โดยได้รับการสนับสนุนจาก Nike ประเทศญี่ปุ่น การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ประเทศศรีลังกาทำหน้าที่เจ้าภาพเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 2000 ศรีลังกาได้เหรียญเงินจากการพบกับนักกีฬากาบัดดี้จากประเทศปากีสถาน

กาบัดดี้ได้รับการเผยแพร่ไปสู่ประเทศในทวีปแอฟริกาในฐานะกีฬาสาธิตในการแข่งขัน Afro-Asian Games ชึ่งจัดขึ้นที่อินเดียในปี ค.ศ. 2002 นี่เป็นเหตุการณ์สำคัญสำหรับผู้รุกกีฬากาบัดดี้และต้องขอขอบคุณสำหรับความพยายามของ Mr.J.S. Gehlot ประธานสมาพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งอินเดียและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินเดีย

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

พัฒนาการของกีฬากาบัดดี้

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา กาบัดดี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้เป็นลำดับในเรื่องรูปแบบการเล่น จาก ที่เคยคิดกันว่าเป็นกีฬาของการใช้พละกำลัง ตอนนี้ก็ไม่ได้คิดกันเช่นนั้นอีกต่อไป เพราะมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นซึ่งง่ายสำหรับผู้เล่นที่ใช้ทักษะมากกว่าพละกำลังในการทำคะแนนจากฝ่ายตรงข้าม

หลายปีที่ผ่านมานี้ รูปแบบเกมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องกฎกติกาและขนาดของสนาม การแข่งขันแนวคิดรวบยอด (concept) ของกาบัดดี้ในฐานะเป็นกีฬาประจำชาติของอินเดียเกิดขึ้นในปี 1921 ในแคว้นมหาราษฎร์ เมื่อมีการจัดทำกฎกติกาและการแข่งขันก็เกิดโดยการผสมผสานรูปแบบ Sanjeevani และ Gemini เข้าไว้ด้วยกัน มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นในปี 1923 เพื่อทำหน้าที่ปรับปรุงกฎกติกา ซึ่งกฎกติกาดังกล่าวได้นำมาใช้บังคับในการแข่งขันชิงชนะเลิศกาบัดดี้แห่งอินเดียที่จัดขึ้นในปีเดียวกัน

สมาคม Hanuman Vyayam Prasarak Mandal จากเมืองอมราวดี แคว้นมหาราษฎร์ ทำหน้าที่จัดและพัฒนากาบัดดี้ให้เป็นระบบและมีความเป็นศาสตร์มากขึ้น สถาบันนี้เชื่อในหลักที่ว่า “สุขภาพจิตที่ดีอยู่ในร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์” ทำให้ชาวนาที่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้เข้าร่วมเล่นกีฬาประเภทนี้ทั้งในการเล่นแบบทั่วไปและการแข่งขันกีฬาประจำถิ่นตลอดหลายปีทีผ่านมา

ระหว่างปี ค.ศ.1927-1952 กาบัดดี้เล่นกันในหลายพื้นที่ของประเทศอินเดียโดยใช้กติกาที่ออกโดยชมรมและคณะกรรมการที่จัดการแข่งขัน ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงและความเจริญให้แก่กีฬาขนิดนี้อย่างรวดเร็ว มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นทีต่างๆ เรื่องกฎกติการะหว่างการแข่งขันชิงขนะเลิศที่มิได้ใส่ใจกับเรืองดังกล่าวในแคว้นมหาราษฎร์ รัฐบุกเบิกที่ทำให้กีฬานี้เป็นที่รู้จักในเวทีระดับประเทศ เรียกกาบัดดี้ว่า “ฮาตูตู” ซึ่งเล่นกันตามกฎกติกาซึ่งกำหนดโดย Deccan Gymkhana ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 – 1938

การนำกีฬาชนิดนี้สู่ระดับนานาชาติในฐานะกีฬาสาธิตในการแข่งขัน Berlin Olympic ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1936 ทำให้กาบัดดี้กลายเป็นกีฬาหลักของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินเดียในปี ค.ศ.1940 หลังจากนั้นก็มีการจัดการแข่งขันกาบัดดี้ชิงชนะเลิศระหว่างจังหวัดขึ้นทุก 2 ปี

การแข่งขันระดับอำเภอใช้กฎกติกาที่ออกโดยสมาคม AkhiI Maharashatra Sharirik Shikshan Mandal ขณะที่การแข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างจังหวัดใช้กฎกติกาที่ว่าด้วยเกมและกีฬาของ Buck ซึ่งตีพิมพ์โดย Mr. H.C. Buck ประธานผู้ก่อตั้งวิทยาลัยพลศึกษา YMCA แห่งเมืองมัทราส

การแข่งขันกีฬา อินเดีย โอลิมปิก หรือ Indian OlympiC Games ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกีฬาแห่งชาติ ในปี ค.ศ.1952 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดขึ้นทุกปีแทนที่ 2 ปีจะขึ้นครั้งหนึ่ง สมาพันธ์กาบัดดี้แห่งอินเดียซึ่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1952 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการออกกฎกติกาโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการกำหนดกฎและกติกาต่างๆ ซึ่งองค์กรการกีฬาระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องจะนำไปให้ทั่วประเทศ กฎใหม่ที่ออกโดยอนุกรรมการชุดดังกล่าวใช้กฎของ Buck และสมาคม AkhiI Maharashatra Sharirik Shikshan Mandal ก็นำกฎดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

รูปแบบเกมเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและมีการปรับปรุงกฎกติกาให้มีมาตรฐานมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางอย่าง ได้แก่ การกำหนดกฎการรุกที่ไม่เกิดผล (Unproductive Raid Rule) ระบบการขอเวลานอก (Time Out System) กฎเส้นโบนัส (Bonus Line Game) ฯลฯ ซึ่งกฎดังกล่าวแม้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักของเกมแต่ก็มีผลกระทบอย่างมากมาย การเปลี่ยนแปลงบางประการที่มีผลต่อเกม ก็ได้ถูกจัดทำให้เกิดความกระชับรัดกุมมากขึ้นเพื่อประโยซน์ของผู้เล่น

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

ปัจจุบันกีฬากาบัดดี้ เป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ในบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาลภูฎาน มาเลเขีย ญี่ปุ่น จีน ศรีลังกา สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร นอกจากประเทศที่กล่าวมาแล้วยังมีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศภายในประเทศประจำทุกปีอีกหลายประเทศ ทั้งยังถูกจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขัน South Asian Games ตั้งแตปี ค.ศ.1985 ด้วย

  • ในปี ค.ศ.1990 กีฬากาบัดดี้ได้รับการบรรจุให้มีการแข่งขันครั้งแรก ในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 11ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีประเทศทีเข้าแข่งขันคือ ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน เนปาล และ จีน
  • ในปี ค.ศ.1994 เป็นการแข่งขันครั้งที่ 2 ในเอเชียนเกมส์ ณ เมืองฮิโรซิมา ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งเอเชีย (A.A.K.F.) จากสมาคมกาบัดดี้ ญี่ปุ่น (J.A.K.A.) และสหพันธ์โอลิมปิกแห่งเอเชีย (I.O.A.) ชึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก
  • ในปี ค.ศ.1998 กีฬากาบัดดี้ได้มีการแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์กาบัดดี้แห่งเอเขีย (A.A.K.F.) และการกีฬาแห่งประเทศไทย (S.A.T.)
  • ในปี ค.ศ.2002 มีการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ครั้ง 14 ณ เมืองปูชาน ประเทศเกาหลีใต้
  • ในปี ค.ศ.2003 มีการแข่งขันกาบัดดี้ชิงแชมป์เอเขีย ณ เมืองปาลิส ประเทศมาเลเซีย
  • ในปี ค.ศ.2004 มีการแข่งขันชิแชมป์โลก ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย
  • ในปี ค.ศ.2005 มีการแข่งขันกาบัดดี้ชิงแชมป์เอเชีย ทีมชายและทีมหญิง ณ เมืองไฮเดอราบัด
    ประเทศ อินเดีย
  • ในปี ค.ศ. 2006 มีการแช่งขันกาบัดดี้ชิงแชมป์เอเชีย ทีมชาย ณ เมืองเตหะราน ประเทศอิหร่าน
  • ในปี ค.ศ. 2006 มีการแข่งขันในเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
  • ในปี ค.ศ. 2007 มีการบรรจุแข่งขันในกีฬาเอเชียนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 2 ณ ประเทศมาเก๊า
  • ในปี ค.ศ. 2008 มีการบรรจุแข่งขันในกีฬาเอเชียนบีซเกมส์ ครั้งที่ 1 ณ เมืองบาหลี
    ประเทศอินโดนีเชีย
  • ในปี ค.ศ. 2019 มีการบรรจุแข่งขันในกีฬาต่อสู้ชิงแชมป์โลก ณ เมือง จงชู ประเทศเกาหลีใต้

นอกจากนี้ยังมีจัดการแข่งขันชิงแชมป์ภายในประเทศต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ประเทศในทวีปยุโรป รัสเซีย ประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย กำลังมีการเคลื่อนไหว และให้ความสนโจในกีฬากาบัดดี้มากขึ้นเป็นลำดับ

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย

ประวัติกีฬากาบัดดี้ในประเทศไทย

สมาคมกาบัดดี้แห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 (ค.ศ.1998) โดยมีพลโทวีระพจน์ ภูมมะภูติ เป็นนายกสมาคม และคุณวีระวัฒน์ ภูมมะภูติ เป็นเลขาธิการ ที่ทำการสมาคมอยู่ที่ 286 ราชมังคลากีฬาสถาน โซน อี 218 ถนนรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร. 02-318-0940-4 ต่อ 1456 แฟกช์ 02-369-1508

ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยและสมาคมกาบัดดี้แห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกาบัดดี้ในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ณ สนามกีฬาคลอง 6 ปทุมธานี ในครั้งนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน และมีพระราชเสาวนีย์ ว่า “กาบัดดี้คืออะไร” แต่พอได้ทอดพระเนตรการแข่งขันท่านทรงโปรดมากเพราะเคยเลยตี่จับมาตั้งแต่เด็กๆ

สมาคมกาบัดดี้แห่งประเทศไทยได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานถ้วยรางวัลที่จะมอบให้แก่ทีมที่ชนะเลิศในการแข่งขันกาบัดดี้ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งได้จัดขึ้นหลังจากการแข่งขันภาบัดดี้ในกีฬาเอเชียนเกมส์ และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล ปัจจุบันมีถ้วยพระราชทานจำนวน 6 ถ้วย คือ ประชาชน เยาวชน และยุวชน

ในปี พ.ศ.2543 สมาคมกาบัดดี้แห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันกาบัดดี้ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย “ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯ สยามบรมราขกุมารี” ครั้งที่ 1 ณ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้มีการจัดการแข่งขันทุกปีอย่างต่อเนื่อง

กีฬากาบัดดี้ได้รับการบรรจุครั้งแรกในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 “มหานครเกมส์” ที่กรุงเทพมหานคร และต่อมาได้มีการบรรจุแข่งขันในกีฬาแห่งชาติทุกครั้งจนถึงปัจจุบัน

กีฬากาบัดดี้ได้รับการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2550 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และต่อมาก็มีการบรรจุเข้าแข่งขันทุกปี

กาบัดดี้ - ประวัติกีฬากาบัดดี้ สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย